วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จังหวัดร้อยเอ็ด :: ข้อมูลทั่วไป

สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี
มหาเจดีย์ชัยมงคล งามหน้ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอม

ร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคอีสานมานานกว่า 200 ปี อดีตเคยเป็นเมืองใหญ่ที่รุ่งเรืองมาก ชื่อว่า สาเกตนคร มีประตูเข้าเมือง 11 ประตู เมืองขึ้น 11 เมือง แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ มากมาย เมืองร้อยเอ็ดเป็นเมืองแห่งบึงพลาญชัย และมีส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ที่ มีชื่อเสียง ซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่ถึงสองล้านไร่เศษ ขณะนี้กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อให้เป็นแผ่นดินแห่งความอุดมสมบูรณ์จนแทบจะหา ร่องรอยแห่งอดีตไม่พบ

ประวัติศาสตร์ของเมืองร้อยเอ็ดเริ่มปรากฏขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีเจ้าลาวจากนครจัมปาศักดิ์ได้เดินทางมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่เป็น อำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน ต่อมาได้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ย้ายเมืองใหม่มาตั้งที่บริเวณเมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน ส่วนเมืองสุวรรณภูมิเดิมก็ยังคงมีอยู่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์คิดกบฎต่อกรุงเทพฯ ได้ยกทัพเข้ามาตีหัวเมืองรายทางจนถึงนครราชสีมา แต่ก็ถูกทัพไทยตีแตกพ่ายไปในที่สุด

นอกจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีแสดงการอยู่อาศัยของคนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติ ศาสตร์เช่นกันและรวมทั้งเคยเป็นดินแดนที่อยู่ในเขตอิทธิพลของอาณาจักรขอม โบราณ เพราะพบโบราณสถานแบบขอมหลายแห่ง เช่น กู่พระโกนา อำเภอสุวรรณภูมิ กู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ อำเภอธวัชบุรี เป็นต้น

ร้อยเอ็ด มีเนื้อที่ 8,299 ตารางกิโลเมตร และแบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ คือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอธวัชบุรี อำเภอพนมไพร อำเภอโพนทอง อำเภอเสลภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภออาจสามารถ อำเภอหนองพอก อำเภอเมืองสรวง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทราย อำเภอเมยวดี อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอหนองฮี และอำเภอทุ่งเขาหลวง

ประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์

มีการพบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์กระจายอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขุดพบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัวซึ่ง สันนิษฐานว่า ชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบมีอายุประมาณ 1,800-2,500 ปีมาแล้ว และมักมีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ำกับใกล้แหล่งเกลือสินเธาว์ อิทธิพลของพุทธศาสนาภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้เข้ามาเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 12-15 มีหลักฐานสมัยทวารวดีที่สำคัญ เช่นคูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงส์ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน กลุ่มใบเสมาบริเวณหนองศิลาเลขในเขตอำเภอพนมไพร และพระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่เมืองไพรในเขตอำเภอเสลภูมิ

วัฒนธรรมจากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 16 ปรากฏหลักฐานอยู่มาก เช่น สถาปัตยกรรมในรูปแบบของปราสาทหิน เช่น กู่กาสิงห์ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนาที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก

สมัยทวารวดี

การตั้งถิ่นฐานของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ได้ต่อเนื่องมาถึง สมัยทวารวดี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนา เมืองที่สร้างขึ้นมีรูปร่างและที่ตั้งไม่แน่นอน แต่มีลักษณะที่สำคัญคือ มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชุมชน ร่องรอยที่ยังเห็นอยู่ของคูเมืองและคันดินได้แก่บริเวณด้านตะวันออกของวัด บูรพาภิราม ด้านใต้ของเมืองบริเวณโรงเรียนสตรีศึกษา นอกจากนี้ยังพบอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ของร้อยเอ็ด ได้แก่ บ้านเมืองไพร (เขตอำเภอเสลภูมิ) บ้านเมืองหงส์ (เขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน) บ้านสีแก้ว (เขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด) หนองศิลาเลข บ้านชะโด (เขตอำเภอพนมไพร) และบ้านดงสิงห์ (เขตอำเภอจังหาร)

สมัยลพบุรี

ได้พบโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยลพบุรีหรือละโว้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ ปราสาทหินกู่กาสิงห์ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่โพนระฆัง กู่โพนวิท กู่บ้านเมืองบัวในเขตอำเภอเกษตรวิสัย กู่คันทนามในเขตอำเภอโพนทราย สำหรับโบราณวัตถุ ได้แก่ รูปเคารพและเครื่องมือเครื่องใช้ในศาสนา เช่นพระพุทธรูป เทวรูป ศิวลึงค์ ภาชนะดินเผา คันฉ่องสำริด กำไลสำริด เป็นต้น

สมัยอาณาจักรล้านช้าง

ได้ปรากฏชื่อเมืองร้อยเอ็ดในเอกสารของลาวว่า พระเจ้าฟ้างุ้มเมื่อ ดำรงตำแหน่งเป็นบุตรเขยเมืองขอม ได้นำไพร่พลมารวมกำลังกันอยู่ที่เมืองร้อยเอ็ด ก่อนยกกำลังไปยึดเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) ได้สำเร็จแล้วจึงได้สถาปนาอาณาจักรล้านช้าง

หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาดหายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ดพร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คนได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณ เมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2256 เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้มอบหมายให้อาจารย์แก้วควบคุมไพร่พลประมาณ 3,000 คน มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ในดินแดนอีสานตอนล่าง เรียกว่า เมืองท่ง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ มีเจ้าเมืองต่อมาคือ ท้าวมืด ท้าวทน ท้าวเชียง และท้าวสูน

สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

ปี พ.ศ. 2256 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ โปรดเกล้าฯ ให้พระยากรมท่าและพระยาพรหมเดินทางมาดูแลหัวเมืองในภาคอีสาน ท้าวทนจึงได้เข้ามาขออ่อนน้อม พระยาทั้งสองจึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีขอตั้งท้าวทนเป็นเจ้าเมือง โดยยกบ้านกุ่มฮ้างขึ้นเป็น เมืองร้อยเอ็ด ตามนามเดิม ท้าวทนได้รับแต่งตั้งเป็นพระขัติยะวงษา นับว่าเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก ส่วนเมืองท่งนั้นบรรดากรมการเมืองเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายไปตั้งบริเวณดงท้าวสาร และให้ชื่อว่า เมืองสุวรรณภูมิ นับแต่นั้นมาทั้งเมืองร้อยเอ็ดและเมืองสุวรรณภูมิต่างมีฐานะขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรีเช่นเดียวกัน

พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็น ราชธานีแห่งใหม่ ทำให้เมืองร้อยเอ็ดและบรรดาหัวเมืองอีสานล้วนต้องขึ้นตรงต่อกรุงรัตน โกสินทร์ ส่วนเมืองร้อยเอ็ดก็ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนมีฐานะทางการเมืองและความ สำคัญเหนือเมืองสุวรรณภูมิในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2326 พระขัติยะวงษา (ทน) ถึงแก่กรรม ท้าวสีลังบุตรคนโตได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระขัติยะวงษา เจ้าเมืองร้อยเอ็ดสืบแทน ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพกบฎถูกตีแตกถอยร่นกลับมา กำลังทหารจากเมืองร้อยเอ็ดได้เข้าโจมตีซ้ำเติมจนพวกกบฎแตกพ่าย พระขัติยะวงษา (สีลัง) มีความดีความชอบได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาขัติยะวงษา

ในปี พ.ศ. 2418 เกิดสงครามปราบฮ่อที่เวียงจันทน์และหนองคาย เจ้าเมืองอุบลได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้ายกกำลังไปปราบ โดยเกณฑ์กำลังพลจากหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือไปช่วยปราบกบฎ เมื่อกองทัพยกมาถึงเมืองร้อยเอ็ด พระขัติยะวงษา (สาร) และราชวงศ์ (เสือ) ได้สมทบกำลังไปปราบฮ่อด้วย เมื่อเสร็จศึก ราชวงศ์ (เสือ) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระขัติยะวงษา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองในระบบมณฑลเทศาภิบาล จึงให้รวมหัวเมืองอีสานเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งออกเป็น 4 กองใหญ่ แต่ละกองมีข้าหลวงกำกับการปกครองกองละ 1 คน และมีข้าหลวงใหญ่กำกับราชการอีกชั้นหนึ่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ กองใหญ่ทั้ง 4 กอง ได้แก่ หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ และหัวเมืองลาวฝ่ายกลาง เมืองร้อยเอ็ดเป็นหัวเมืองเอกใน จำนวน 12 เมืองของหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีศูนย์การบริหารหัวเมืองอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราระบบการปกครองเทศาภิบาลขึ้นใช้ปกครองส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ หัวเมืองลาวกาวจึงเปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลลาวกาว ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ และมณฑลอีสานตามลำดับ

ในปี พ.ศ. 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือเมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์

ในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัดคือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์

พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร เป็นภาคเรียกว่า ภาคอีสาน มีอุปราชประจำภาคอยู่ที่เมืองอุดรธานี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2468 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกภาคอีสาน แล้วปรับเปลี่ยนเป็นการปกครองระบบมณฑลตามเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2469 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร แล้วให้เปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัด ขึ้นต่อมณฑลนครราชสีมา

ระหว่างปี พ.ศ. 2445-2455 ได้เกิดกบฎผีบุญขึ้น ในจังหวัดร้อยเอ็ดอันมีสาเหตุมาจากการยกเลิกการปกครองแบบดั้งเดิม โดยยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง แล้วแต่งตั้งข้าราชการจากส่วนกลางไปปกครอง ทำให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่มเจ้าเมืองเดิมและทายาท กบฎผีบุญเกิดขึ้นจากการมีผู้อ้างตัวเป็นผู้วิเศษตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในภาคอีสาน ในที่สุดก็ถูกทางราชการปราบได้ราบคาบ

ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้า ปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอมาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน นับว่าเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของไทยที่ควรจารึกไว้เป็นตัวอย่างที่ดี แก่ลูกหลานไทยต่อไปชั่วกาลนาน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับอำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ ติดกับอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเมือง อำเภอเลิงนกทา อำเภอกุดชุม จังหวัด ยโสธร
ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอเมือง อำเภอวาปีปทุม และอำเภอพยัคฆภูมิ จังหวัดมหาสารคาม

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

ที่ว่าการอำเภอ โทร. 04351 1689
โรงพยาบาลรัอยเอ็ด โทร. 04351 1336
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด โทร. 0 4351 1222, 0 4351 1420
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4351 5374,0 4352 7117
สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 4351 1766, 191, 0 4351 3536, 0 4351 1984
สถานีขนส่ง โทร. 0 4351 1939
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, 0 4323 6937-8

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด
http://www.roiet.go.th

แหล่งข้อมูล :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดหนองคาย :: ข้อมูลทั่วไป

วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว

ข้อมูลทั่วไป :

หนองคาย เมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมระหว่างสองประเทศจังหวัดหนองคายอยู่ห่าง จากกรุงเทพฯ 615 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงมากที่สุดเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ สามารถเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้โดยสะดวก มีวัดวาอารามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจ โรงแรมที่พักที่สะดวกสบาย หลากหลายไปด้วยอาหารและสินค้าของฝาก ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเมืองริมโขงแห่งนี้

ภูมิอากาศ

เนื่องจากจังหวัดหนองคาย มีภูมิประเทศ ติดกับแม่น้ำโขง ทำให้มีฝนตกชุกในฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ในฤดูหนาว ราวเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์จะมีอากาศหนาวเย็น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่สูง อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเมษายน อากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส

หนองคาย เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก

นิตยสาร Modern Maturity ของสหรัฐอเมริกา จัดให้หนองคายเป็นเมืองน่าอยู่ลำดับที่ 7 ของโลก สำหรับคนวัยเกษียณชาวอเมริกัน จากการสำรวจ 40 เมืองทั่วโลก โดยอาศัยตัวชี้วัด 12 ตัว คือ ภูมิอากาศ ค่าครองชีพ วัฒนธรรม ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค การคมนาคม บริการทางการแพทย์ สภาพแวดล้อม กิจกรรมนันทนาการ ความปลอดภัย ความมั่นคงทางการเมือง และการเข้าถึงเทคโนโลยี

ประวัติเมืองหนองคาย

ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปีเศษ พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ 4 เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฎ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้า เมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้าง เมืองที่บ้านไผ่ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุดรธานี, สกลนคร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย

การเดินทาง

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านสระบุรี แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย รวมระยะทาง 615 กิโลเมตร

ทางรถไฟ

การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020 www.railway.co.th สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592

ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศไปหนองคาย ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 (จตุจักร) โทร. 0 2936 2852-66 นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่บริการเดินรถไปจังหวัดหนองคาย เช่น 407 พัฒนา โทร. 0 2992 3475-8 , 0 4241 1261 ชาญทัวร์ จำกัด โทร. 0 2618 7418, 0 4241 2195 บารมีทัวร์ โทร. 0 2537 8249, 0 4246 0345 เชิดชัยทัวร์ โทร. 0 2936 0253 , 0 4246 1067 www.transport.co.th

ทางเครื่องบิน

นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางโดยเครื่องบิน สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี จากนั้นต่อรถเข้าจังหวัดหนองคายอีก 51 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตารางการบินได้ที่ บมจ.การบินไทย โทร. 1566,0 2628 2000 , 0 2356 1111 www.thaiairways.com หรือ สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.หนองคาย

นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถเช่าของบริษัทนำเที่ยวซึ่งมีมากมายในตัว เมือง หรืออาจใช้บริการรถสามล้อเครื่องที่เรียกกันว่า สกายแล็ป ไปยังจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ในตัวเมืองและใกล้เคียง เช่น ตลาดท่าเสด็จ วัดโพธิ์ชัย ศาลาแก้วกู่ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จากสถานีขนส่งหนองคายมีรถโดยสารสายหนองคาย-เลย วิ่งผ่านอำเภอท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ สังคม และอำเภอเชียงคานของจังหวัดเลย ซึ่งเป็นเส้นทางเลียบแม่น้ำโขง ในอำเภอเหล่านี้จะมีที่พักแบบเกสต์เฮ้าส์สำหรับบริการนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารวิ่งระหว่างหนองคาย-นครพนม ด้วย

การเดินทางจากอำเภอเมืองหนองคายไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอ -กิโลเมตร
อำเภอสระใคร 26 กิโลเมตร
อำเภอท่าบ่อ 42 กิโลเมตร
อำเภอบุ่งคล้า 181 กิโลเมตร
อำเภอโพนพิสัย 45 กิโลเมตร
อำเภอศรีเชียงใหม่ 57 กิโลเมตร
อำเภอรัตนวาปี 71 กิโลเมตร
อำเภอเฝ้าไร่ 71 กิโลเมตร
อำเภอโพธิ์ตาก 77 กิโลเมตร
อำเภอปากคาด 90 กิโลเมตร
อำเภอสังคม 95 กิโลเมตร
อำเภอโซ่พิสัย 90 กิโลเมตร
อำเภอบึงกาฬ 136 กิโลเมตร
อำเภอศรีวิไล 163 กิโลเมตร
อำเภอพรเจริญ 182 กิโลเมตร
อำเภอเซกา 228 กิโลเมตร
อำเภอบึงโขงหลง 238 กิโลเมตร

การเดินทางจากหนองคายไปยังจังหวัดใกล้เคียง

นอกจากรถโดยสารสายหนองคาย-กรุงเทพฯแล้ว จากสถานีขนส่งหนองคายยังมีบริการรถโดยสารสายหนองคาย-ระยอง (มีทั้งรถปรับอากาศและธรรมดา) รถธรรมดาสายหนองคาย-เลย และหนองคาย-อุดรธานี ติดต่อสถานีขนส่งหนองคายโทร. 0 4241 1612

ส่วนรถไฟมีรถออกจากสถานีหนองคายไปยังอุดรธานี ขอนแก่น และกรุงเทพฯ วันละประมาณ 3 เที่ยว ติดต่อสถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592

ระยะทางจากหนองคายไปจังหวัดใกล้เคียงมีดังนี้

อุดรธานี 51 กิโลเมตร
เลย 202 กิโลเมตร
สกลนคร 210 กิโลเมตร
นครพนม 303 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารท่องเที่ยว ททท. โทร. 0 4242 1326
(อยู่ภายในบริเวณศูนย์ราชการ จ.หนองคาย)
สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 4241 1021, 0 4241 1071
โรงพยาบาลหนองคาย โทร. 0 4241 3456-8
โรงพยาบาลหนองคาย-วัฒนา โทร. 0 4246 5201
สถานีขนส่ง บ.ข.ส. โทร. 0 4241 1612
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4241 2110
สำนักงานจังหวัด โทร. 0 4241 1778
ด่านศุลกากร โทร. 0 4241 1518, 0 4242 1207
กองกำกับการตรวจคนเข้าเมือง โทร. 0 4241 1605
สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1637 , 0 4241 1592

จังหวัดหนองบัวลำภู :: ข้อมูลทั่วไป

" ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ
แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน "
ข้อมูลทั่วไป :

หนองบัวลำภูเดิมเคยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากจังหวัดอุดรธานีประมาณ 46 กิโลเมตร (มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ โดยเส้นทางรถยนต์ประมาณ 568 กิโลเมตร) ในอดีตหนองบัวลำภูเป็นเมืองโบราณที่ก่อตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 900 ปี เดิมเป็นดินแดนที่ขึ้นต่อกรุงศรีสัตตนาคนหุต มีชื่อว่า "เมืองหนองบัวลุ่มภู นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระจายอำนาจมายังส่วนภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การให้บริการของรัฐ การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การส่งเสริมให้ท้องที่เจริญยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อความมั่นคงของชาติ ประกอบกับจังหวัดอุดรธานี มีอาณาเขตกว้างขวาง และมีพลเมืองมาก จึงเห็นสมควรแยกอำเภอต่างๆ บางอำเภอ ตั้งขึ้นเป็นจังหวัด โดยได้รับการสถาปนาให้เป็น "จังหวัดหนองบัวลำภู" อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป

จังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งอยู่บนที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่ในเขตที่ราบลุ่มเชิงเขาภูพานคำ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงสลับกับแนวเขาด้านทิศตะวันออก มีภูเขาและป่าติดต่อกันตั้งแต่อำเภอสุวรรณคูหา ทอดยาวไปตามอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จนถึงแนวเทือกเขาภูพานในเขตอำเภอโนนสังทางด้านจังหวัดขอนแก่น พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวจึงเป็นที่ราบสูง และค่อยๆ ลาดเอียงไปทางอำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเหมาะกับการทำนาโดยทั่วไป


อาณาเขตและการปกครอง :

ทิศเหนือ จดจังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันออก จดจังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก จดจังหวัดเลย
ทิศใต้ จดจังหวัดขอนแก่น

จังหวัดหนองบัวลำภู มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 3,859.086 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู โนนสัง ศรีบุญเรือง นากลาง สุวรรณคูหา และนาวัง


การเดินทาง :

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 210 ผ่านอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานีถึงจังหวัดหนองบัวลำภู รวมระยะทาง 608 กิโลเมตร หรือเมื่อถึงจังหวัดขอนแก่นแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2109 (อำเภอน้ำพอง-เขื่อนอุบลรัตน์ เข้าอำภอโนนสัง ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู รวมระยะทาง 559 กิโลเมตร

ทางรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดขบวนรถด่วนและรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ทุกวัน เป็นรถไฟที่วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานี จากนั้นใช้รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างอุดรธานี-หนองบัวลำภู สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตารางรถไฟได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

ทางรถโดยสารประจำทาง
มีทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศที่วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) โทร.0 2936 2852–66 และ 0 2936 1880 www.transport.co.th

ทางเครื่องบิน
จังหวัดหนองบัวลำภูไม่มีเครื่องบินลง นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการการบินไทยซึ่งบินระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานี และอุดรธานี-กรุงเทพฯ ทุกวัน แล้วต่อรถยนต์มายังหนองบัวลำภู สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตารางการบินได้ที่ บมจ. การบินไทย กรุงเทพฯ โทร. 1566, 0 2356 1111 ,0 2628 2000 หรือจังหวัดอุดรธานี โทร. 0 4224 3222 ,0 4224 6697 ,0 4224 6567 และ 0 4224 6644 หรือที่ www.thaiairways.com หรือ สายการบินไทย แอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.หนองบัวลำภู
มีรถสองแถวบริการวิ่งรอบ ๆ ตัวเมืองหนองบัวลำภู พร้อมทั้ง รถเมล์ประจำทางวิ่งระหว่างตัวจังหวัดไปยังอำเภอต่าง ๆ

การเดินทางจากจังหวัดหนองบัวลำภูไปยังจังหวัดต่างๆ
หนองบัวลำภู-อุดรธานี รถออกเวลา 06.00 น. จนถึง 19.30 น. (รถโดยสารธรรมดา)
หนองบัวลำภู-เลย รถออกเวลา 06.00 น. จนถึง 19.30 น. (รถโดยสารธรรมดา)
หนองบัวลำภู-กรุงเทพฯ รถออกเวลา 19.30 น. (รถปรับอากาศ บริษัทชุมแพทัวร์ โทร. (042) 311051)
หนองบัวลำภู-เชียงใหม่ รถออกเวลา 08.20 น. , 17.45 น. (รถธรรมดา) และเวลา 21.20 น. รถปรับอากาศ มี 2 บริษัท คือ บริษัทหนองบัวลำภูเดินรถ โทร. (042) 311057, 311051 และบริษัทจักรพงษ์ทัวร์ โทร. (042) 221121, 247787

การเดินทางจากอำเภอเมืองหนองบัวลำภูไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอนากลาง 30 กิโลเมตร
อำเภอศรีบุญเรือง 33 กิโลเมตร
อำเภอโนนสัง 42 กิโลเมตร
อำเภอนาวัง 42 กิโลเมตร
อำเภอสุวรรณคูหา 65 กิโลเมตร


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : ที่ทำการไปรษณีย์ โทร. 0 4231 2618
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
โรงพยาบาลหนองบัวลำภู โทร. 0 4231 1991-2
สำนักงานจังหวัด โทร. 0 4231 1045
สภอ.เมืองหนองบัวลำภู โทร. 0 4231 1045

จังหวัดนครพนม :: ข้อมูลทั่วไป

พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง

ข้อมูลทั่วไป :

นครพนม เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง(ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซ บั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนม ในปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมา :

ตามประวัติ เล่ากันว่าเมื่อพญานันทเสน ผู้ครองศรีโคตรบูร สวรรคต เสนาอำมาตย์ และประชาชน ต่างก็เห็นว่าบ้านเมืองเกิดเภทภัย หลายครั้ง ควรที่จะย้าย ไปสร้างเมืองใหม่ อยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีป่าไม้รวก ขึ้นอยู่เป็นดงจึงได้เรียกชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “มรุกขนคร” หมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก มรุกขนคร ในสมัยพญาสุมิตรธรรม เมื่อ พ.ศ. 500 นั้นรุ่งเรืองมาก มีเมืองขึ้นมากมาย และมีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้น เป็นครั้งแรกด้วย โดยการก่อพระลานอูบมุง ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแแพง ล้อมรอบ มีงานสมโภชใหญ่โต หลังจากพญา สุมิตรธรรม แล้ว ก็มีผู้ครองนคร ต่อมาอีก 2 พระองค์ แต่ก็เกิดมีเหตุอาเพศ แก่อาณาจักรศรีโคตรบูร จนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ. 1800 เจ้าศรีโคตรบูร ได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในพ.ศ. 2057 ผู้ครองเมืองมรุกขนคร คือพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศ ราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น “เมืองศรีโคตรบูร” ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม ในยุคสมัยนี้ ยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนม อีกด้วย ต่อมา พ.ศ. 2280 พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูร องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วให้ชื่อว่า “เมืองนคร” ซึ่งก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายอีกหลายครั้ง ดังเช่น พ.ศ.2321 ในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้ง ไปตั้งที่บ้าน หนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางทิศเหนือ 52 กิโลเมตร จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2333 เมื่อผู้ครองเมืองนคร ถึงแก่พิราลัย เมืองนคร ก็ได้ขอขึ้นตรงต่อ กรุงเทพมหานคร โดยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “ นครพนม”

ชื่อนครพนมนั้น มีข้อสันนิษฐานว่า เคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงได้ใช้คำว่า “ นคร” ส่วนคำว่า “พนม” ก็มาจากพระธาตุพนม ปูชนียสถาน ที่อยู่คู่บ้านคู่เมือง มาช้านาน บ้างก็ว่า มรุกขนคร เดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้าย ของแม่น้ำโขง ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อน จึงนำคำว่า “พนม” ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า “นคร” ก็เป็นการดำรงชื่อเมือง ไว้คือ เมืองมรุกขนคร นครพนมจึงหมายถึง “ เมืองแห่งภูเขา” นั่นเอง

อาณาเขต การปกครอง :

จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,512.668 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 740 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม นาแก ท่าอุเทน เรณูนคร บ้านแพง ปลาปาก ศรีสงคราม นาหว้า โพนสวรรค์ นาทม และอำเภอวังยาง

ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตอำเภอดงหลวง กิ่งอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

การเดินทาง :

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข 213 แล้วแยกขวาเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์และผ่านจังหวัดสกลนคร ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม ตามทางหลวงหมายเลข 22 รวมระยะทางประมาณ 740 กิโลเมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-นครพนม มีทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2936 2852 – 66 และที่จังหวัดนครพนม โทร. 0 4251 1043 สำหรับบริษัทเอกชนติดต่อ บริษัท แสงประทีปเดินรถ จำกัด โทร. 0 4252 0411 บริษัท ชัยสิทธิ์ จำกัด โทร. 0 4252 0651 และบริษัทเชิดชัยทัวร์ จำกัด โทร. 0 4251 2098 www.transport.co.th

ทางเครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดนครพนม สอบถามตารางการบินได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 , 0 4251 2494 www.thaiairways.com และบริษัท พี บี แอร์ จำกัด 0 2261 0220-5 , 0 4258 7207 www.pbair.com

การเดินทางจากอำเภอเมืองนครพนมไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง กิโลเมตร
อำเภอท่าอุเทน 26 กิโลเมตร
อำเภอปลาปาก 44 กิโลเมตร
อำเภอโพนสวรรค์ 45 กิโลเมตร
อำเภอเรณูนคร 51 กิโลเมตร
อำเภอธาตุพนม 52 กิโลเมตร
อำเภอศรีสงคราม 67 กิโลเมตร
อำเภอนาแก 78 กิโลเมตร
อำเภอวังยาง 80 กิโลเมตร
อำเภอบ้านแพง 93 กิโลเมตร
อำเภอนาหว้า 93 กิโลเมตร
อำเภอนาทม 130 กิโลเมตร

การเดินทางจากนครพนมไปยังจังหวัดใกล้เคียง

สกลนคร 93 กิโลเมตร
มุกดาหาร 104 กิโลเมตร
อุบลราชธานี 271 กิโลเมตร
ขอนแก่น 298 กิโลเมตร
หนองคาย 303 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ :

ท่าอากาศยานนครพนม โทร. 0 4251 3264
บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน โทร. 0 4251 2494, 0 4251 3014
ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม โทร. 0 4251 1730, 0 4252 0797
สำนักงานจังหวัดนครพนม โทร. 0 4251 1287, 0 4251 1574
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. 0 4251 1266, 0 4251 5680,0 4251 2469

จังหวัดนครราชสีมา :: ข้อมูลทั่วไป

" เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหินดินด่านเกวียน "

นครราชสีมา หรือที่เรียกว่า “โคราช” เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ผู้มาเยือนจะเพลิดเพลินกับกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งเดินป่าศึกษา ธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้งยังได้อิ่มอร่อยกับอาหารอีสานต้นตำรับ ก่อนกลับยังได้ซื้อหาสินค้าเกษตรหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีให้เลือกอีกมากมาย

คำว่า นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง นครราชสีมาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติ ศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดิน แดนแถบนี้ เคยมีฐานะเป็นเมือง “เจ้าพระยามหานคร” เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง จนมาถึงปัจจุบันก็ยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลาง ทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน

จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,494 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 26 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ ด่านขุนทด โนนไทย โนนสูง ขามสะแกแสง พิมาย คงโนนแดง ประทาย ชุมพวง บัวใหญ่ แก้งสนามนาง บ้านเหลื่อม จักราช ห้วยแถลง ปักธงชัย โชคชัย ครบุรี เสิงสาง หนองบุนนาก วังน้ำเขียว เฉลิมพระเกียรติ และอีก 6 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอเมืองยาง เทพารักษ์ ลำทะเมนชัย พระทองคำ บัวลายและสีดา


อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และสระบุรี


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 044)

ตำรวจท่องเที่ยว

1155 , 0 4434 1777-9

ท่าอากาศยานนครราชสีมา

0 4425 9524

บมจ. การบินไทย (สนามบิน)

0 4425 5425

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

0 4425 1818

โรงพยาบาลมหาราช

0 4425 4990-1

สถานีขนส่งแห่งที่ 1

0 4424 2889

สถานีขนส่งแห่งที่ 2

0 4425 6006-9

สถานีตำรวจภูธร

0 4424 2010

สถานีรถไฟ

0 4424 2044

สำนักงานจังหวัด

0 4424 3798

จังหวัดมุกดาหาร :: ข้อมูลทั่วไป

หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน
กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน

ข้อมูลทั่วไป :

ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงแขวงสวันเขต มีหมู่บ้านชุมชนใหญ่ชื่อบ้านหลวงโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณพระธาตุอิงฮัง แขวงสวันเขตในปัจจุบัน โดยมีเจ้าจันทรสุริยวงศ์ปกครอง มีบุตรชายชื่อเจ้ากินรี ซึ่งต่อมาได้ข้ามลำน้ำโขงมาฝั่งขวาที่บริเวณปากห้วยมุก สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ณ ที่นั้น ในปี พ.ศ. 2310 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 และตั้งชื่อเมืองว่า "มุกดาหาร" อันเกิดจากศุภนิมิตรที่พบเห็นในขณะที่กำลังสร้างเมือง ชาวเมืองทั่วไปเรียกมุกดาหารว่า เมืองมุก

ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช อุปรชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2321

เดิมเมืองมุกดาหารมีฐานะเป็นเมืองขึ้นการปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ 17 ของภาคอีสาน


อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ และ อำเภอหนองพอก อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสวันเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

มุกดาหารมีพื้นที่ทั้งหมด 4,339.83 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอคำชะอี อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง


การเดินทาง :

ทางรถยนต์

มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 642 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อ.บ้านไผ่-มหาสารคาม-อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด-อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด ผ่าน อ.ประทาย อ.พุทไธสง อ.พยัคฆภูมิพิสัย –อ.เกษตรวิสัย-อ.สุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2169 ผ่านทรายมูล อ.กุดชุม อ.เลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่ จ.มุกดาหาร

ทางรถไฟ

มีรถด่วน รถเร็ว และรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ทุกวัน จากนั้นต่อรถโดยสารไปยังจังหวัดมุกดาหาร ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690,0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัทขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน โทร. 0 29362852-66 นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางเชื่อมระหว่างมุกดาหารและจังหวัดอื่นๆในภาค อีสาน อาทิ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี นครพนม สกลนคร อุดรธานี และมหาสารคามกำหนดเวลาและรายละเอียดสอบถามได้ที่ สถานีขนส่งจังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4261 1421,0 4261 1478,0 4261 3025-9 www.transport.co.th

ทางเครื่องบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีบริการเที่ยวบินไปจังหวัดมุกดาหารโดยตรง หากประสงค์เดินทางโดยเครื่องบินต้องเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นต่อรถโดยสารไปจังหวัดมุกดาหาร ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร.1566, 0 2356 1111 , 0 2628 2000 www.thaiairways.com หรือ สายการบินไทย แอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com

การเดินทางจากอำเภอเมืองมุกดาหารไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอนิคมคำสร้อย 28 กิโลเมตร
อำเภอดอนตาล 33 กิโลเมตร
อำเภอคำชะอี 35 กิโลเมตร
อำเภอหว้านใหญ่ 35 กิโลเมตร
อำเภอหนองสูง 50 กิโลเมตร
อำเภอดงหลวง 55 กิโลเมตร

ระเบียบการข้ามไปแขวงสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)

เอกสารที่ใช้ประกอบหลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว 2 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
- กรณีเด็กที่ยังไม่ได้ทำบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านหรือสูติบัตร 1 ฉบับ
- กรณีใช้บัตรสีเหลือง ต้องติดรูปถ่าย และให้ทางอำเภอรับรอง
- ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
- การออกใบอนุญาตผ่านแดน มีอายุครั้งละ 3 วัน (กรณีข้ามไปเยี่ยมญาติหรือท่องเที่ยว) และครั้งละ 30 วัน (กรณีข้ามไปเพื่อติดต่อธุรกิจค้าขาย)
- ยื่นหลักฐาน และสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานจังหวัดมุกดาหาร วันธรรมดาในเวลาราชการ วันเสาร์ตั้งแต่เวลา 08.30-14.00 น. วันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.30-10.30 น. โทร. (042) 611-330

หมายเหตุ สำหรับชาวต่างประเทศ ต้องมีหนังสือเดินทางพร้อมด้วยวีซ่าที่สถานฑูต สปปล. ประจำประเทศไทย ออกให้โดยติดต่อขออนุญาตผ่านแดนที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดมุกดาหารโดยตรง

วันและเวลาเรือโดยสารข้ามไป สปปล.
วันธรรมดา มีเรือโดยสาร 4 เที่ยว ขาไปออกเวลา 9.00, 09.30,10.00 และ 15.00 น ขากลับออกเวลาประมาณ 14.00, 15.00 และ 16.30 น.

วันเสาร์ มีเรือโดยสาร 2 เที่ยว ขาไปออกเวลา 09.00 และ 11.00 น. ขากลับออกเวลาประมาณ 14.00 และ 16.00 น.

วันอาทิตย์ มีเรือโดยสาร 1 เที่ยว ขาไปออกเวลา 10.00 น. ขากลับออกเวลาประมาณ 16.00 น.

สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โทร. (042) 611-074


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : ประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4261 2297 ,0 4263 2379
เทศบาลเมืองมุกดาหาร โทร. 0 4261 1227
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
สภอ.เมืองมุกดาหาร โทร. 0 4263 3533
โรงพยาบาลมุกดาหาร โทร. 0 4261 2977
ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4263 2878
สถานีขนส่ง โทร. 0 4261 1478,0 4263 0486

จังหวัดมหาสารคาม :: ข้อมูลทั่วไป

" พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร "

ข้อมูลทั่วไป :

มหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความสงบ และเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น “ตักศิลาแห่งอีสาน” เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาอยู่มากมายหลายแห่ง


การเดินทาง :

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่จังหวัดสระบุรี ผ่านจังหวัดนครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 226) เข้าจังหวัดบุรีรัมย์(ทางหลวงหมายเลข 219) ผ่านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอ บรบือ เข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม รวมระยะทางประมาณ 475 กิโลเมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศบริการวันละหลายเที่ยว รายละเอียดสอบถามได้ที่สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ หมอชิต 2 โทร. 0 2936 2852-66 สำหรับบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการไปจังหวัดมหาสารคามคือ มงคลทัวร์ โทร. 0 4371 1072 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3638-9 www.transport.co.th

สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถไฟ หรือเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคามอีกประมาณ 72 กิโลเมตร

การเดินทางจากอำเภอเมืองมหาสารคามไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอกันทรวิชัย 18 กิโลเมตร
อำเภอบรบือ 26 กิโลเมตร
อำเภอโกสุมพิสัย 28 กิโลเมตร
อำเภอแกดำ 28 กิโลเมตร
อำเภอวาปีปทุม 40 กิโลเมตร
อำเภอชื่นชม 40 กิโลเมตร
อำเภอเชียงยืน 55 กิโลเมตร
อำเภอนาเชือก 58 กิโลเมตร
อำเภอนาดูน 64 กิโลเมตร
อำเภอยางสีสุราช 70 กิโลเมตร
อำเภอกุดรัง 70 กิโลเมตร
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 82 กิโลเมตร


อาณาเขตและการปกครอง :

จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 475 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 5,291 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม กันทรวิชัย โกสุมพิสัย วาปีปทุม บรบือ พยัคฆภูมิพิสัย นาเชือก เชียงยืน นาดูน แกดำ ยางสีสุราช อำเภอกุดรังและอำเภอชื่นชม

ภูมิประเทศเป็นที่ราบลูกคลื่นไม่มีภูเขา มีแม่น้ำชีไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวัน ตกติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น

อาชีพที่สำคัญของชาวมหาสารคามคือ การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ อาชีพในครัวเรือนที่ทำกันมากคือ การเลี้ยงไหม และทอผ้าไหม ผ้าไหมมหาสารคามส่วนใหญ่เป็นผ้าที่มีลวดลายแบบดั้งเดิม และสวยงามมาก


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4372 1396
เทศบาลเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4374 0825
ประชาสัมพันธ์จังหวัดมหาสารคาม โทร. 0 4371 1231
โรงพยาบาลมหาสารคาม โทร. 0 4374 0993-6
สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม โทร. 0 4377 7356
สถานีตำรวจอำเภอเมืองมหาสารคาม โทร. 0 4371 1205

จังหวัดเลย :: ข้อมูลทั่วไป

เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู

จังหวัดเลยเมืองท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โอบล้อมด้วยภูเขาสลับซับซ้อนท่าม กลางสายหมอกปกคลุมเหนือยอดภู อุดมไปด้วยพืชพรรณป่าไม้นานาชนิดที่รู้จักกันดีคือ ภูกระดึง ภูหลวงและภูเรือ อากาศอันเย็นสบาย ภูมิประเทศที่งดงาม ประเพณีวัฒนธรรมอันแตกต่างไปจากถิ่นอื่นซึ่งได้แก่การละเล่นผีตาโขน ที่รอคอยนักเดินทางมาสัมผัสเมือแห่งขุนเขาดินแดนมหัศจรรย์แห่งนี้


อาณาเขตและการปกครอง :

เลยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 520 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11,424 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในอดีตนั้น เป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ของอาณาจักร ที่มีความรุ่งเรือง ควบคู่กับกรุงศรีอยุธยา ของไทย ภายหลังอาณาจักรล้านช้าง เริ่มอ่อนแอลง จึงมาขึ้นอยู่กับ กรุงศรีอยุธยา ต่อมาชุมชนนี้ ได้รับการยกฐานะ เป็นเมืองเลย ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จังหวัดเลย แบ่งการปกครอง ออกเป็น 14 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเลย วังสะพุง ปากชม เชียงคาน ท่าลี่ ภูเรือ ด่านซ้าย ภูกระดึง นาแห้ว นาด้วง ภูหลวง ผาขาว อำเภอเอราวัณ และ อำเภอหนองหิน

ทิศเหนือ ติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดพิษณุโลก


การเดินทาง :

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านตัวเมืองสระบุรี ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 203 ผ่านอำเภอหล่มสัก หล่มเก่า เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ ถึงตัวเมืองเลยใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง หรือ จากสระบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 มิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201 เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง ถึงตัวเมืองเลยได้เช่นเดียวกัน

ทางรถไฟ

จังหวัดเลยไม่มีสถานีรถไฟ นักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปลงที่สถานีอุดรธานีและต่อรถโดยสารประจำทางไป จังหวัดเลยได้ สอบถามตารางรถไฟได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690, 0 2233 7010, 0 2223 7020 หรือ สถานีอุดรธานี โทร. 0 4222 2061 www.railway.co.th

ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-เลย ทุกวัน ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง รายละเอียดสอบถามที่สถานีขนส่ง หมอชิต 2 โทร.0 2936 2852-66 www.transport.co.th

ทางเครื่องบิน

สายการบินนกแอร์เปิดบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-เลย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1318 www.nokair.co.th

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอ และกิ่งอำเภอต่าง ๆ

อำเภอวังสะพุง 23 กิโลเมตร
อำเภอนาด้วง 32 กิโลเมตร
อำเภอเชียงคาน 47 กิโลเมตร
อำเภอท่าลี่ 47 กิโลเมตร
อำเภอภูหลวง 49 กิโลเมตร
อำเภอภูเรือ 50 กิโลเมตร
อำเภอผาขาว 70 กิโลเมตร
อำเภอภูกระดึง 73 กิโลเมตร
อำเภอด่านซ้าย 82 กิโลเมตร
อำเภอปากชม 90 กิโลเมตร
อำเภอนาแห้ว 125 กิโลเมตร
อำเภอเอราวัณ 50 กิโลเมตร


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : ประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย โทร. 0 4281 1746, 0 4283 3209
เทศบาลเมืองเลย โทร. 0 4281 1140
ที่ว่าการอำเภอเมืองเลย โทร. 0 4281 1213
ที่ว่าการอำเภอเชียงคาน โทร. 0 4282 1597
โรงพยาบาลเลย โทร. 0 4281 1541
สภอ.เมืองเลย โทร. 0 4281 1254

จังหวัดขอนแก่น :: ข้อมูลทั่วไป

พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว
เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองมวยโอลิมปิก

ข้อมูลทั่วไป :

ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตรงกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ และมนุษยวิทยา ว่าอาณาเขต จังหวัดขอนแก่น เคยเป็นดินแดน ที่มีผู้คนอาศัย ตั้งบ้านเรือน อยู่เจริญรุ่งเรือง มีอารยธรรมสูงส่ง มาก่อนสมัยประวัติศาสตร์ และคาบเกี่ยวกับ สมัยประวัติศาสตร์ ทำให้ขอนแก่น เป็นเมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรม ของชนชาติโบราณมากมาย ดังปรากฏ ร่องรอยให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น ภาพเขียนสี ที่ถ้ำฝ่ามือแดง อำเภอภูเวียง เมืองโบราณ สมัยทวาราวดี ที่อำเภอชุมแพ เสมาหิน ที่เมืองชัยวาน อำเภอมัญจาคีรี และศาสนสถาน สมัยขอม ที่อำเภอเปือยน้อย จัดเป็นปราสาทหิน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่พบในจังหวัดขอนแก่น และอยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก

ปัจจุบันขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพทางการท่อง เที่ยว ทั้งทางธรรมชาติ และโบราณสถานมากมาย มีความเจริญรุ่งเรือง ในด้านต่างๆ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา คือ เป็นที่ตั้ง ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัฒนธรรม และประเพณีต่างๆ มีผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว และผู้มาเยือน เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ที่อำเภอชนบท นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและสะดวกในการคมนาคมตลอดปี

ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในอำเภอเมือง รถโดยสารประจำทาง วิ่งบริการหลายสาย มีที่พักบริการ หลายระดับ ตั้งแต่ห้องพักราคาย่อมเยาว์ ไปจนถึงโรงแรมระดับห้าดาว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัย ที่ส่งเสริมศักยภาพ ทางการท่องเที่ยว ด้วย ขอนแก่นมีพื้นที่ประมาณ 10,885 ตารางกิโลเมตร


ประวัติความเป็นมา :

หากจะอ้างถึงประวัติ ของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเริ่มก่อตั้งเป็นเมือง มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 อายุเพียงแค่สองร้อยกว่าปี ก็คงจะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเมืองเก่า แต่ที่จริงแล้ว ดินแดนบนที่ราบสูงแห่งนี้ มีประวัติศาสตร์ ที่ยาวนานมาก ไม่ว่าจะเป็นทางธรรมชาติ หรือทางอารยธรรม ดังที่มีการค้นพบซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ อายุนับล้านปี พบชุมชนเมืองโบราณ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลายแห่ง ตลอดจนปราสาทขอม สมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ด้วยอารยธรรม ที่สั่งสมมา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สิ่งที่พบที่นี่ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถานต่างๆ จึงล้วนเป็นส่วนหนึ่ง ที่สะท้อนให้ทราบความเป็นมาของคนไทยและชาติไทย


การเดินทาง :

ทางรถยนต์

ขอนแก่นอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปตามทางรถยนต์ 449 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี ตรงหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาถึงจังหวัดขอนแก่น

อีกเส้นทางหนึ่ง เมื่อถึงสระบุรีแล้วตรงไปตามถนนสระบุรี-ลำนารายณ์ แยกขวาเข้าเส้นทางม่วงค่อม-ด่านขุนทด-ชัยภูมิ-ขอนแก่น หรือสระบุรี-อำเภอลำนารายณ์-อำเภอเทพสถิต-ชัยภูมิ-อำเภอมัญจาคีรี-อำเภอพระ ยืน-ขอนแก่น

ทางรถไฟ

ขบวนรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ผ่านจังหวัดขอนแก่น ไปจังหวัดอุดรธานี และหนองคายทุกวัน รถที่ให้บริการมีทั้งรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนดีเซลรางปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020 สถานีรถไฟขอนแก่น โทร. 0 4322 1112 www.railway.co.th

ทางรถโดยสารประจำทาง

ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2 ) มีรถโดยสารธรรมดา รถปรับอากาศ และรถนอนพิเศษชนิด 24 ที่นั่ง วิ่งบริการทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0 2936 2852-66 สถานีขนส่งขอนแก่น (รถธรรมดา) 0 4323 7472 สถานีรถปรับอากาศ 0 43 23 9910 www.transport.co.th

ทางรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ

บริษัทขนส่งจำกัด และรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ร่วมเปิดเส้นทางเดินรถระหว่าง ขอนแก่น-นครหลวงเวียงจันทน์ โดบจัดรถปรับอากาศมาตรฐาน 45 ที่นั่ง ให้บริการ 2 เที่ยวต่อวัน มีต้นทางและปลายทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 2 และ สถานีรถเมล์ขนส่งผู้โดยสารตลาดเช้า นครหลวงเวียงจันทน์ โดยไม่มีจุดจอดระหว่างทาง

ตารางเดินรถระหว่างประเทศเส้นทาง ขอนแก่น-เวียงจันทน์

เวลาเดินรถ
ขอนแก่น

เวลาเดินรถ
นครเวียงจันทน์

ระยะเวลาเดินทาง

ราคาค่าโดยสาร

เที่ยวแรก

08.15 น.

08.15 น.

4 ชั่วโมง

180 บาท/50,000 กีบ

เที่ยวสอง

14.15 น.

14.15 น.

4 ชั่วโมง

180 บาท/50,000 กีบ

ทางเครื่องบิน

บมจ. การบินไทย เปิดบริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ บมจ. การบินไทย โทร. 1566,0 2628 2000 www.thaiairways.com และ สำนักงานขอนแก่น โทร.0 4322 7701-5 หรือสายการบินไทย แอร์ เอเชีย โทร.0 2515 9999 www.airasia.com

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.ขอนแก่น

มีบริการรถโดยสารให้เลือกหลายประเภท ได้แก่ รถตุ๊กๆค่าโดยสารเริ่มต้นที่ราคา 30 บาท สามล้อปั่นราคาเริ่มต้นคือ 20 บาท ส่วนใหญ่จะวิ่งบริการภายในตัวเมืองและเขตเทศบาล

รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กวิ่งบริการในเขตเมืองขอนแก่นหลายสาย มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารวิ่งระหว่างอำเภอเมืองขอนแก่นไปยังอำเภอต่างๆ ตลอดวัน

การเดินทางจากอำเภอเมืองขอนแก่นไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอบ้านแฮด 18 กิโลเมตร
อำเภอบ้านฝาง 22 กิโลเมตร
อำเภอพระยืน 30 กิโลเมตร
อำเภอซำสูง 39 กิโลเมตร
อำเภอน้ำพอง 43 กิโลเมตร
อำเภอบ้านไผ 44 กิโลเมตร
อำเภอหนองเรือ 45 กิโลเมตร
อำเภออุบลรัตน์ 50 กิโลเมตร
อำเภอชนบท 55 กิโลเมตร
อำเภอมัญจาคีรี 58 กิโลเมตร
อำเภอโนนศิลา 58 กิโลเมตร
อำเภอเขาสวนกวาง 59 กิโลเมตร
อำเภอกระนวน 66 กิโลเมตร
อำเภอภูเวียง 68 กิโลเมตร
อำเภอแวงใหญ 72 กิโลเมตร
อำเภอพล 74 กิโลเมตร
อำเภอโคกโพธิ์ไชย 75 กิโลเมตร
อำเภอเปือยน้อย 80 กิโลเมตร
อำเภอหนองนาคำ 80 กิโลเมตร
อำเภอชุมแพ 82 กิโลเมตร
อำเภอแวงน้อย 96 กิโลเมตร
อำเภอหนองสองห้อง 96 กิโลเมตร
อำเภอภูผาม่าน 109 กิโลเมตร
อำเภอสีชมพู 114 กิโลเมตร


อาณาเขตและการปกครอง :

ขอนแก่น แบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอภูเวียง อำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล อำเภอน้ำพอง อำเภอชุมแพ อำเภอมัญจาคีรี อำเภอหนองเรือ อำเภอกระนวน อำเภอหนองสองห้อง อำเภอชนบท อำเภอสีชมพู อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ อำเภออุบลรัตน์ อำเภอบ้านฝาง อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอพระยืน อำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน กิ่งอำเภอหนองนาคำ กิ่งอำเภอซำสูง และกิ่งอำเภอโคกโพธิ์ชัย รวมพื้นที่ประมาณ 10,855,991 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ จดจังหวัดอุดร หนองบัวลำภู และ จังหวัดเลย
ทิศใต้ จดจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก จดจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และ จังหวัดชัยภูมิ


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, 0 4322 6195-6
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. 0 4323 6115
เทศบาลนครขอนแก่น โทร. 0 4322 1185, 0 4322 4032
ประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4323 3015, 0 4324 6853, 0 4324 6649
สถานกงสุลลาว โทร. 0 4324 2856-8
สถานกงสุลเวียดนาม โทร. 0 4324 2190
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 4322 1162
ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4323 6882, 0 4323 9381
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โทร. 0 4324 2331-44
โรงพยาบาลขอนแก่น โทร. 0 4323 6005-6

จังหวัดกาฬสินธุ์ :: ข้อมูลทั่วไป

" ฟ้าแดดสูงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา
ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์ สัตว์โลกล้านปี "

ข้อมูลทั่วไป :

กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตร ได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำปาว เรียกว่า “บ้านแก่งสำโรง” แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็น “พระยาชัยสุนทร” ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก


อาณาเขต :

ทิศเหนือ จดจังหวัดอุดรธานี สกลนคร
ทิศใต้ จดจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม
ทิศตะวันออก จดจังหวัดร้อยเอ็ด มุกดาหาร
ทิศตะวันตก จดจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และอุดรธานี

กาฬสินธุ์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 519 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ คือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสมเด็จ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอท่าคันโท อำเภอเขาวง อำเภอห้วยเม็ก อำเภอคำม่วง อำเภอหนองกุงศรี อำเภอนามน อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอร่องคำ อำเภอสามชัย อำเภอนาคู อำเภอดอนจาน และอำเภอฆ้องชัย

จังหวัดกาฬสินธุ์มีเนื้อที่ทั้งหมด 7,055.07 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศตอนบนเป็นภูเขาตามแนวเทือกเขาภูพาน ตอนกลางเป็นเนินเขาสลับป่าโปร่ง


การเดินทาง :

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์ ใช้เส้นทาง กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ต่อด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 23 ทางหลวงหมายเลข 213และ 209 มหาสารคาม-กาฬสินธุ์ รวมระยะทาง 519 กิโลเมตร

ทางรถไฟ

นักท่องเที่ยวสามารถลงได้ที่สถานีรถไฟขอนแก่น จากขอนแก่นต่อรถโดยสารประจำทางเข้าจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 78กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020 สถานีรถไฟขอนแก่น โทร. 0 43 22 1112 www.railway.co.th

ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่ง จตุจักร(หมอชิต 2) โทร. 0 2936 2852-66 www.transport.co.th

ทางเครื่องบิน

จังหวัดกาฬสินธุ์ไม่มีสนามบิน นักท่องเที่ยวสามารถลงได้ที่จังหวัดร้อยเอ็ด แล้วต่อรถโดยสายประจำทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร สอบถามตารางเที่ยวบินได้ที่สายการบิน พี บี แอร์ โทร. 0 2261 0220 ต่อ 201-210 สำนักงานร้อยเอ็ด โทร. 0 4351 8572 www.pbair.com

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.กาฬสินธุ์

มีรถ 3 ล้อถีบรับจ้างอยู่ทั่วไป และยังมีรถโดยสารประจำทางวิงระหว่างตัวจังหวัดไปยังอำเภอต่างๆ อีกด้วย

การเดินทางจากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอกมลาไสย 12 กิโลเมตร
อำเภอยางตลาด 16 กิโลเมตร
อำเภอสหัสขันธ์ 39 กิโลเมตร
อำเภอร่องคำ 39 กิโลเมตร
อำเภอสมเด็จ 40 กิโลเมตร
อำเภอนามน 42 กิโลเมตร
อำเภอห้วยเม็ก 48 กิโลเมตร
อำเภอห้วยผึ้ง 60 กิโลเมตร
อำเภอหนองกุงศรี 62 กิโลเมตร
อำเภอกุฉินารายณ์ 79 กิโลเมตร
อำเภอคำม่วง 81 กิโลเมตร
อำเภอสามชัย 85 กิโลเมตร
อำเภอนาค 88 กิโลเมตร
อำเภอท่าคันโท 99 กิโลเมตร


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : ที่ทำการไปรษณีย์กาฬสินธุ์ โทร. 0 4381 1142-3
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โทร. 0 4381 1020
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 4381 1298,0 4381 3451,0 4381 2191,0 4381 1070
สถานีตำรวจภูธร 0 4381 1111,0 4381 2191
สำนักงานเทศบาลเมือง โทร. 0 4381 1284,
สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์ โทร. 0 4381 1695,0 4381 5331

จังหวัดชัยภูมิ :: ข้อมูลทั่วไป

" ชัยภูมิทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย
ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษ สุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทวาราวดี "

ข้อมูลทั่วไป :

ชัยภูมิ ตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือ เป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวแสนงาม และสายน้ำตกชุ่มฉ่ำยามหน้าฝน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ ภูพังเหย ภูแลนคา ภูพญาฝ่อ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี

ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม จนถึงอิทธิพลลาวล้านช้าง มีการค้นพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด ต่อมาปรากฏชื่อเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช ภายหลังจึงร้างไป และมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีชาวเวียงจันทน์เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง มีผู้นำชื่อ แล ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ

ชัยภูมิ เป็นเมืองที่เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมาคู่กับเมืองบุรีรัมย์ มาปรากฏชื่อทางประวัติศาสตร์อีกครั้ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีชาวเมืองเวียงจันทน์มีนายแลเป็นหัวหน้าพากันมาตั้งหลักปักฐานในบริเวณ ที่เรียกว่า โนนน้ำอ้อม และคงใช้ชื่อเมืองตามเมืองเดิมว่าชัยภูมิ ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ก่อการกบฎยกกองทัพเข้ามาตีเมืองนครราชสีมาและหัวเมืองรายทาง นายแลเจ้าเมืองชัยภูมิได้ยกไพร่พลไปสมทบกับกำลังของคุณหญิงโม ตีทัพของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์แตกพ่ายไปได้ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี และให้นายแลเป็นพระยาภักดีชุมพล เจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อมาที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาภักดีชุมพล (แล) ก็ยังคงใช้ราชทินนามว่า พระยาภักดีชุมพล

ในปัจจุบัน ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยภูมิคือ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย มัดหมี่ หมอนขิต ผ้าขิต และสินค้าเมืองที่ทำจากผ้าทอมือ เป็นต้น


การเดินทาง :

ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี แยกขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ที่อำเภอสีคิ้ว ผ่านอำเภอด่านขุนทด อำเภอจัตุรัส เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทางประมาณ 342 กิโลเมตร

อีกเส้นทางหนึ่ง คือ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านสระบุรี ถึงแยกพุแค แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ถึงอำเภอชัยบาดาล จากนั้นเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 205 ผ่านอำเภอเทพสถิต อำเภอจตุรัส เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ

ทางรถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถด่วน รถเร็ว กรุงเทพฯ-หนองคาย บริการทุกวันโดยลงที่สถานีบัวใหญ่ จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารประจำทางไปชัยภูมิอีก 51 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ แผนกบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

ทางรถโดยสารประจำทาง
มีบริการเดินรถ กรุงเทพฯ-ชัยภูมิ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โทร. 0 2936 2852-66 สถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493 บริษัท แอร์ชัยภูมิ โทร.0 4481 1556 นครชัยแอร์ โทร. 0 44 81 1739 ชัยภูมิจงเจริญ โทร. 0 4481 1780 ชัยภูมิทัวร์ โทร. 0 4481 6012 www.transport.co.th

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.ชัยภูมิ
จากสถานีขนส่งชัยภูมิมีรถโดยสารประจำทางไปกรุงเทพฯ เลย เชียงใหม่ นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น เพชรบูรณ์-หล่มสัก พิษณุโลก ชุมแพ บัวใหญ่ คอนสวรรค์ หนองบัวแดง เกษตรสมบูรณ์ บ้านเขว้า สมอทอด คอนสาร ลำนารายณ์ บ้านไผ่ ติดต่อสอบถามสถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493

การเดินทางจากอำเภอเมืองชัยภูมิไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอบ้านเขว้า 13 กิโลเมตร
อำเภอเนินสง่า 30 กิโลเมตร
อำเภอหนองบัวระเหว 35 กิโลเมตร
อำเภอคอนสวรรค์ 38 กิโลเมตร
อำเภอจัตุรัส 36 กิโลเมตร
อำเภอแก้งคร้อ 45 กิโลเมตร
อำเภอหนองบัวแดง 49 กิโลเมตร
อำเภอบำเหน็จณรงค์ 58 กิโลเมตร
อำเภอภูเขียว 76 กิโลเมตร
อำเภอบ้านแท่น 92 กิโลเมตร
อำเภอภักดีชุมพล 85 กิโลเมตร
อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 102 กิโลเมตร
อำเภอเทพสถิต 105 กิโลเมตร
อำเภอคอนสาร 120 กิโลเมตร


อาณาเขตและการปกครอง :

ชัยภูมิอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 342 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 16 อำเภอ คือ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอจัตุรัส อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอคอนสาร อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเนินสง่า และอำเภอซับใหญ่

ทิศเหนือ จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดขอนแก่น
ทิศใต้ จดจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก จดจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดลพบุรี


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : โรงพยาบาลชัยภูมิ โทร. 0 4481 1005-8
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 2516, 0 4481 1376
สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 1573
สถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493
สถานีตำรวจ โทร. 0 4481 1242

จังหวัดบุรีรัมย์ :: ข้อมูลทั่วไป

" เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม "

ข้อมูลทั่วไป :

จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรืออีสานตอนล่าง มีเนื้อที่ประมาณ 10,321.885 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร

ประวัติความเป็นมา :

บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยสำหรับคนในท้องถิ่น และเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วยปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ สมัยทวาราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐและปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่า “เครื่องถ้วยเขมร” ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18 อยู่ทั่วไป

หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุง ศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ บุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้


การเดินทาง :

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 รวมระยะทาง 410 กิโลเมตร หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแกลง-ลำปลายมาศ รวมระยะทาง 384 กิโลเมตร รถประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด เดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ ทุกวัน มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รายละเอียดติดต่อได้ที่ สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 936-2852-66

ทางรถไฟ

มีรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-สุรินทร์ และนครราชสีมา-อุบลราชธานี ทั้งที่เป็นขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และรถดีเซลราง ผ่านสถานีบุรีรัมย์ทุกขบวน รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th

ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด เดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ ทุกวัน มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รายละเอียดติดต่อได้ที่ โทร.0 2936 1880, 0 2936 0657, 0 2936 0667,0 2936 2852 สถานีขนส่งบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 2534 www.transport.co.th

ทางเครื่องบิน

บริษัท พีบี แอร์ จำกัด มีเที่ยวบินไปจังหวัดบุรีรัมย์โดยตรง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0 2261 0220-5 โทรสาร 0 2261 0227 สำนักงานที่บุรีรัมย์ โทร. 0 4468 0132-3 โทรสาร 0 4468 1533 www.pbair.com

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด

การเดินทางภายในตัวเมืองสามารถใช้บริการรถสามล้อรับจ้าง ตกลงค่าโดยสารก่อนใช้บริการ ส่วนการเดินทางระหว่างอำเภอมีรถโดยสารจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปยังอำเภอต่างๆ

การเดินทางจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอห้วยราช 12 กิโลเมตร
อำเภอบ้านด่าน 15 กิโลเมตร
อำเภอกระสัง 32 กิโลเมตร
อำเภอลำปลายมาศ 32 กิโลเมตร
อำเภอคูเมือง 33 กิโลเมตร
อำเภอสตึก 40 กิโลเมตร
อำเภอพลับพลาชัย 40 กิโลเมตร
อำเภอโนนสุวรรณ 40 กิโลเมตร
อำเภอประโคนชัย 44 กิโลเมตร
อำเภอนางรอง 54 กิโลเมตร
อำเภอแคนดง 56 กิโลเมตร
อำเภอหนองหงส์ 60 กิโลเมตร
อำเภอพุทไธสง 64 กิโลเมตร
อำเภอบ้านกรวด 66 กิโลเมตร
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 68 กิโลเมตร
อำเภอชำนิ 70 กิโลเมตร
อำเภอนาโพธิ์ 78 กิโลเมตร
อำเภอปะคำ 78 กิโลเมตร
อำเภอหนองกี่ 83 กิโลเมตร
อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ 85 กิโลเมตร
อำเภอโนนดินแดง 92 กิโลเมตร
อำเภอละหานทราย 100 กิโลเมตร

การเดินทางจากบุรีรัมย์ไปยังจังหวัดใกล้เคียง

จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 รวมระยะทาง 410 กิโลเมตร หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแถลง-ลำปลายมาศ รวมระยะทาง 384 กิโลเมตร


อาณาเขตและการปกครอง :

แบ่งการปกครองออกเป็น 23 อำเภอ คือ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง ลำปลายมาศ ประโคนชัย พุทไธสง สตึก กระสัง บ้านกรวด คูเมือง ละหานทราย หนองกี่ ปะคำ นาโพธิ์ หนองหงส์ พลับพลาชัย ห้วยราช โนนสุวรรณ เฉลิมพระเกียรติ ชำนิ โนนดินแดง บ้านกรวด ละหานทราย บ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอแคนดง และอำเภอบ้านด่าน

ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดปราจีนบุรีและเทือกเขาพนมมาลัย ซึ่งกั้นเขตแดน ระหว่างไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดนครราชสีมา


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : ท่าอากาศยานจังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0 4461 4123
บมจ.การบินไทย โทร. 0 4462 5066-7
ประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0 4461 1957
ไปรษณีย์บุรีรัมย์ โทร.0 4461 1142
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 1262
ตำรวจทางหลวง โทร.0 4461 1992, 1193
สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 1449
สถานีตำรวจจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 1234
สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0 4461 253

จังหวัดอำนาจเจริญ :: ข้อมูลทั่วไป

" พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตรพระเหล่า
เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใส ใฝ่พุทธธรรม "

ข้อมูลทั่วไป :

จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ โดยเส้นทางรถยนต์ประมาณ 568 กิโลเมตร มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขึ้นอยู่กับนครเขมราฐ ต่อมาจึงได้ย้ายมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี จนกระทั่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536


การเดินทาง :

การคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดอำนาจเจริญสะดวกสบายทั้งทางรถยนต์ รถไฟ หรืออาจใช้ทางอากาศ โดยใช้บริการของสนามบินนานาชาติ ที่จังหวัดอุบลราชธานี

ทางรถยนต์
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-สุรินทร์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 214 สุรินทร์-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านจังหวัดยโสธร และอำเภอป่าติ้ว ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ รวมระยะทาง 580 กิโลเมตร หรือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-อุบลราชธานี ถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ รวมเป็นระยะทาง 704 กิโลเมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง
มีทั้งธรรมดาและปรับอากาศ ซึ่งเป็นรถโดยสารที่วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 936-2852-66 จากนั้นใช้รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างอุบลราชธานี-มุกดาหาร-ธาตุพนม ซึ่งจะผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ มี 2 บริษัท คือ

- บริษัทสายัณห์เดินรถ จำกัด เป็นรถโดยสารธรรมดา มีเวลารถออกดังนี้คือ 06.00 น. 07.00 น. 09.00 น. 11.00 น. 12.00 น. และเวลา 13.00 น. ซื้อตั๋วและขึ้นรถได้ที่คิวรถตลาดบ้านดอนกลาง รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. (045) 242163, 241820

- บริษัทสหมิตรทัวร์ เป็นรถโดยสารปรับอากาศ ซึ่งวิ่งระหว่างอุบลราชธานี-นครพนม มีเวลาออกดังนี้คือ 06.30 น. และเวลา 14.00 น. ซื้อตั๋วและขึ้นรถได้ที่ บริษัทสหมิตรทัวร์ ถนนเขื่อนธานี ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ทางรถไฟ
มีรถด่วนและรถเร็วทุกวัน ซึ่งเป็นรถไฟที่วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และยังมีรถธรรมดาจากนครราชสีมา-อุบลราชธานี และสุรินทร์-อุบลราชสีมา อีกด้วยจากนั้น ใช้รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างอุบลราช ธานี-มุกดาหาร-ธาตุพนม หรือใช้รถประจำทางที่วิ่งระหวางอุบลราชธานี-นครพนม ก็ได้ รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020

ทางเครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเครื่องบินรับส่งผู้โดยสาร และพัสดุภัณฑ์ ระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และอุบลราชธานี-กรุงเทพฯ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด ถนนหลานหลวง โทร. 280-0060, 628-2000 อุบลราชธานี ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานขายตั๋ว โทร. (045) 313340-43 หรือที่ทำการสนามบิน โทร. (045) 243037-38


อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดยโสธร ที่อำเภอเลิงนกทา และจังหวัดมุดาหาร ที่อำเภอดอนตาล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงด้าน อำเภอชานุมาน เป็นระยะทาง 38 กิโลเมตร และติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ที่อำเภอ เขมราฐ อำเภอกุดข้าวปุ้น และอำเภอตระการพืชผล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดยโสธร ที่อำเภอป่าติ้ว และอำเภอเลิงนกทา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ที่อำเภอเมือง อุบลราชธานี และอำเภอม่วงสามสิบ

อำนาจเจริญแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอหัวตะพาน อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา และกิ่งอำเภอลืออำนาจ


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 045)

ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขต 2 จ.อุบลราชธานี

243-770-1

ตำรวจท่องเที่ยว

1155

ตำรวจทางหลวง

451-656

สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง

512-007

ไปรษณีย์จังหวัด

451-495

สถานีขนส่งจังหวัด

511-018

รพ.อำนาจเจริญ

451-025 , 451-075

รพ.ชานุมาน

499-002

รพ.เสนางนิคม

461-008

รพ.พนา

486-003






จังหวัดอุตรดิตถ์ :: ข้อมูลทั่วไป

" เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก "

ข้อมูลทั่วไป :

จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง เมืองแห่งพระแท่นศิลาอาสน์ ตำนานเมืองลับแลที่มีแม่ม่ายและสาวสวย เมืองแห่งลางสาดหวานหอม และบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่บารมีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์มาแต่อดีตกาล โดยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานผ่านพัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย นับแต่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

จากการค้นพบกลองมโหระทึก ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2470 ทำให้เราทราบว่าอุตรดิตถ์ เป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ก่อน พ.ศ. 1000 แล้ว เพราะโบราณวัตถุที่ค้นพบดังกล่าวเป็นโลหะที่มีใช้กันอยู่ในยุคสัมฤทธิ์หรือ ยุคโลหะตอนต้น อันเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเอง จึงนับได้ว่า อุตรดิตถ์เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันดีงามมาโดยลำดับ และสิ่งที่ยังเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุตรดิตถ์ ก็คือ ความเกรียงไกรของพระยาพิชัยดาบหัก เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" ขึ้นกับเมืองพิชัย แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐ ซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความ เจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้า ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่าท่าน้ำแห่งทิศเหนือ แต่ยังคงขึ้นกับเมืองพิชัยอยู่ ต่อมาอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และเมืองพิชัยเลื่อนลงไปเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์จนทุกวันนี้


อาณาเขตและการปกครอง :

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่และน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก เลย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแนวเขตแดนยาว 120 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย

จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ 7,838.592 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอตรอน อำเภอพิชัย อำเภอลับแล อำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา อำเภอบ้านโคก อำเภอฟากท่า และอำเภอทองแสนขัน


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)

ที่ว่าการอำเภอเมือง

411-037 , 413-758

ศาลากลางจังหวัด

411-209 , 411-977

สำนักงานจังหวัด

411-003

เทศบาลเมือง

411-212

ททท.สำนักงานภาคเหนือ เขต 3 จ.พิษณุโลก

252-742-3

ตำรวจท่องเที่ยว

1155

ตู้ยามอุตรดิตถ์

412-193

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง

411-987

ไปรษณีย์จังหวัด

411-053 , 411-929

สถานีขนส่ง

411-059

สถานีรถไฟ

411-023

รพ.อุตรดิตถ์

411-176 , 411-175

รพ.น้ำปาด

481-061

รพ.ลับแล

431-345

รพ.พิชัย

421-145

รพ.ท่าปลา

499-070

รพ.ทองแสนขัน

414-034

รพ.บ้านโคก

486-063

รพ.ฟากท่า

489-089

รพ.ตรอน

491-098

จังหวัดตาก :: ข้อมูลทั่วไป

" ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม "

เมืองตาก ในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปะมอญปรากฏอยู่ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก เมืองนี้สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว เมืองตากมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งขวาของ แม่น้ำปิงมายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลล้านระแหงจนกระทั่งทุกวันนี้

เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ของภาคเหนือ รองจากเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าเขาอันเป็นที่อยู่ ของชาวเขาเผ่าต่างๆ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านตัวจังหวัด และมีแม่น้ำเมย เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย กับพม่า ที่อำเภอแม่สอด ซึ่งเป็นศูนย์กลาง การค้าขาย ชายแดนระหว่างไทยกับพม่า

ตาก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 426 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 10,254,156 ไร่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็น ภูเขา และป่าไม้ เป็นจังหวัดที่มีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่ยังคงความสมบูรณ์ของป่า และธรรมชาติ อาทิ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติลานสาง และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ตลอดจนมีน้ำตกที่ นักท่องเที่ยวรักการผจญภัย และนิยมการล่องแก่งต้องมาเยือนสักครั้ง คือ น้ำตกทีลอซู และน้ำตกทีลอเร นอกจากความสวยงามตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อทั้งดอกไม้ และผลไม้ โดยเฉพาะทับทิม ซึ่งเป็นพันธุ์ ที่มีผลใหญ่ และกำลังได้รับความนิยมมาก
ประวัติและความเป็นมา :

จ. ตาก เป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุ เกินกว่า 2,000 ปี และเคยเป็นชุมชนโบราณ ที่มีการเพาะปลูก และ ล่าสัตว์ มีการปั้น เครื่องปั้นดินเผา และ หล่อโลหะ ประเภท สำริด จากหลักฐานการค้นพบซากโบราณวัตถุหลายชิ้น ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไม้สอย ในยุคโลหะตอนปลาย ก่อนประวัติศาสตร์ คือ ประมาณ 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว

เดิมที ชุมชน ตาก ในอดีต คงเป็นเมืองที่ชาวมอญ สร้างขึ้น และเป็นราชธานีของแคว้นแถบตอนเหนือ ที่มีกษัตริย์ปกครอง ต่อเนื่องกันมาหลายพระองค์ ในรัชสมัย พระเจ้าสักดำ ราวปี พ.ศ.560 เมืองตาก เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ มีอาณาเขตแผ่ไปไกล จนจดทะเลอันดามัน และมีการติดต่อค้าขาย กับเมือง อินเดีย ด้วย ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิส อพยพโยกย้ายผู้คน ไปสร้างราชธานีใหม่ ขึ้นที่ เมืองละโว้ ทางตอนใต้ของ เมืองตาก ทิ้งให้ ตาก กลายเป็นเมืองร้าง อยู่หลายร้อยปี

จนราวปี พ.ศ.1310 - 1311 พระนางจามเทวีวงศ์ พระราชธิดา ในกษัตริย์ เมืองละโว้ เสด็จตามลุ่มน้ำปิง ผ่าน เมืองตาก เพื่อไปปกครอง แคว้น หริภุญไชย หรือ ลำพูน ในปัจจุบัน ทรงพบร่องรอยกำแพงเก่า ตามริมฝั่งแม่น้ำ จึงโปรดฯ ให้สร้างเมืองแห่งนี้ขึ้นเป็นบ้านเมืองใหม่ เรียกกันว่า "บ้านตาก" ด้วยมีเรื่องเล่าว่า เป็นสถานที่ ที่พี่เลี้ยงของพระนาง ตากผ้า และสิ่งของที่เปียกชุ่ม ขณะเดินทางมาตามลำน้ำ

หลังจาก พ่อขุนรามคำแหง ชนช้างชนะ ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ในปี พ.ศ.1781 แล้ว พระองค์ได้ยกทัพผ่านลงมาทาง แหลมมลายู ปราบเมืองใหญ่น้อย ที่เคยเป็นอาณาจักร ทวารวดี และ ศรีวิชัย รวมเข้าเป็น อาณาจักร สุโขทัย เป็นผลให้มีการเปิดเส้นทางค้าขาย ทางบก ไปยังเมือง เมาะตะมะ ของ มอญ ซึ่งเป็นเมืองท่า ผ่านสินค้าต่อไปยัง อินเดีย เปอร์เซีย และ อาระเบีย โดยพ่อค้าไทย มักนำเครื่อง สังคโลก จาก สุโขทัย ผ่านแม่สอด ไปยัง เมาะตะมะ เพื่อส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ โดยทางเรือ ขณะเดียวกัน ก็นำสินค้าจากเมือง เมาะตะมะ และประเทศ ทางตะวันตก กลับมาขายด้วย

สมัย อยุธยา บ้านตาก เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ สำหรับป้องกันกองทัพ พม่า ที่ยกทัพเข้ามาทางด่าน แม่ละเมา มีแม่ทัพ นายกอง และไพร่พล จาก กรุงศรีอยุธยา มาประจำการ และยังเป็นที่ชุมนุมไพร่พล ทหารกล้า สำหรับการเดินทัพครั้งสำคัญ เพื่อเข้าตีเมือง เชียงใหม่ อีกหลายครั้ง ในสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ช่วงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นประเทศราช ขึ้นกับ พม่า สมัย พระเจ้าหงสาวดี ได้ย้ายเมือง จาก บ้านตาก ลงมาทางใต้ ประมาณ 25 กม. เรียกว่า "เมืองตากระแหง" ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตก ด้วยเหตุที่การ คมนาคมติดต่อ ระหว่างเมืองนี้ กับเมือง มอญ ใกล้กว่าที่เก่า

ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 เมือง ตากระแหง ถูก พม่า ตีแตก ผู้คนหนีไป บ้านเมืองร้าง จนถึงสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละ ได้รวบรวมชาว เมืองตาก เดิม ที่ บ้านตาก และ เมืองตากระแหง มาตั้งเมืองใหม่ โดยย้ายเมือง มาอยู่ฝั่งตะวันออก ของ แม่น้ำปิง เพื่อให้ ลำน้ำ เป็นปราการธรรมชาติ ที่ช่วยกั้นทัพ พม่า เมื่อ พม่า เป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ บ้านเมืองสงบ ปลอดศึกสงคราม ตาก เริ่มมีการค้าขาย กับ พม่า และเมืองทาง ภาคเหนือ โดยอาศัยลำน้ำปิง เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ชุมชนจึงขยายตัว ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด ตาก ก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้า ทางเรือ ระหว่าง เชียงใหม่ นครสวรรค์ และ กรุงเทพฯ
อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน และ จ.ลำปาง
ทิศใต้ ติดต่อกับ จ.กาญจนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จ.สุโขทัย จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์ และ จ.อุทัยธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า มีแม่น้ำเมย เป็นพรมแดน

จังหวัดตาก ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้และภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 16,406.650 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง อำเภอพบพระ และกิ่งอำเภอวังเจ้า
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)

งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท.

02-250-5500 ต่อ 1555-1563 , 02-694-1222 ต่อ 8

ททท.ภาคเหนือ เขต 4

055-514-341-3

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

055-513-584

ตำรวจทางหลวง จ.ตาก

055-511-340

ตำรวจทางหลวง อ.แม่สอด

055-532-222

สภ.อ.เมือง

055-511-355

สภ.อ.ท่าสองยาง

055-589-013 , 055-589-123

สภ.อ.บ้านตาก

055-591-009

สภ.อ.พบพระ

055-569-108

สภ.อ.แม่ระมาด

055-581-253

สภ.อ.แม่สอด

055-531-122 , 055-531-130

สภ.อ.อุ้มผาง

055-561-011 , 055-561-112

รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ

055-511-024-5 , 055-513-983-4

รพ.ท่าสองยาง

055-589-020 , 055-589-125 , 055-589-255-6

รพ.บ้านตาก

055-591-435

รพ.พบพระ

055-569-023 , 055-569-211-2

รพ.แม่ระมาด

055-581-136 , 055-581-229

รพ.แม่สอด

055-531-224 , 055-531-229

รพ.สามเงา

055-599-072 , 055-549-257-8

รพ.อุ้มผาง

055-561-016 , 561-270-2

จังหวัดสุโขทัย :: ข้อมูลทั่วไป

มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วง ขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐาน การเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญ ในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ ทางศิลปะของไทย ในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักร ที่ยังหลงเหลืออยู่ ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534


อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296

จังหวัดแพร่ :: ข้อมูลทั่วไป

หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลอเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม

แพร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 555 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางภาคเหนือบนฝั่งแม่น้ำยม เป็นนครแห่งวรรณกรรมอมตะลิลิตพระลอที่รู้จักกันทั่วไป แพร่เริ่มก่อตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 หลังจากตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีแล้ว ตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงกล่าวว่า แพร่เคยเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรสุโขทัย มีชื่อเรียกกันหลายชื่อว่า พลนคร เมืองพล เมืองแพล ในสมัยที่ขอมมีอำนาจระหว่าง ปี พ.ศ. 1470–1560 พระนางจามเทวีเข้าครอบครองในเขตลานนาไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็น โกศัยนคร หรือ เวียงโกศัย ซึ่งแปลว่าผ้าแพร แล้วมาเปลี่ยนเป็นเมืองแพร่ในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน

จังหวัดแพร่มีพื้นที่ประมาณ 6,538 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำยมไหลผ่าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีที่ราบในหุบเขาอยู่ตอนกลางของจังหวัด แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น อำเภอสอง อำเภอร้องกวาง และอำเภอหนองม่วงไข่


อาณาเขต :

ทิศเหนือ จดจังหวัดลำปาง น่าน และพะเยา
ทิศใต้ จดจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุโขทัย
ทิศตะวันออก จดจังหวัดน่าน และอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก จดจังหวัดลำปาง


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ สำนักงานจังหวัดแพร่ โทร. 0 5451 1411
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 5451 1089, 0 5452 2536
โรงพยาบาลแพร่ โทร. 0 5453 3492-4
ป่าไม่จังหวัดแพร่ โทร. 0 5451 1638
หอการค้าแพร่ โทร. 0 5452 2830

จังหวัดพิษณุโลก :: ข้อมูลทั่วไป

" พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา "

พิษณุโลก เป็นจังหวัดใหญ่ อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 377 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ในเขตตะวันออก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่มอยู่โดยทั่วไป และมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำน่าน และแม่น้ำยม


ประวัติและความเป็นมา :

พิษณุโลกเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “เมืองสองแคว” เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย (ที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน) ในสมัยสุโขทัย ครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสองแควมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1900 และยังเรียกว่าเมืองสองแควเรื่อยมา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพิษณุโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เมื่อครั้งที่เสด็จมาประทับเมืองสองแควตั้งแต่ พ.ศ. 2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2031

เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง 25 ปี ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ และเป็นเมืองลูกหลวง ซึ่งกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาส่งมหาอุปราช หรือพระราชโอรสมาครองเมือง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็ทรงมีราชสมภพ ณ เมืองนี้ และได้ทรงครองเมืองนี้เช่นกัน

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พิษณุโลกยังคงเป็นเมืองเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เรื่อยมา ครั้นถึงปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน
อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร

จังหวัดพิษณุโลกแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนครไทย อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอเนินมะปราง
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)

สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก

259-001

ททท.สำนักงานภาคเหนือเขต 3 จ.พิษณุโลก

252-742-3

ตำรวจท่องเที่ยว

1155

ตำรวจทางหลวง พิษณุโลก

259-503

ตู้ยามสุโขทัย

612-993

ตู้ยามอุตรดิตถ์

412-193

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง

258-777 , 240-199

สถานีรถไฟ

258-005

รพ.พุทธชินราช

258-031

รพ.นครไทย

389-015

รพ.บางระกำ

371-168

รพ.บางกระทุ่ม

391-016-2

รพ.พรหมพิราม

369-034

รพ.วัดโบสถ์

361-079

รพ.วังทอง

311-017

รพ.เนินมะปราง

243-099

รพ.ชาติตระการ

381-020-1

รพ.อินเตอร์เวชการ

217-800-1

ป้ายกำกับ

100 อันดับเว็บ (1) 3 มิติ (1) กรอบข้อความ (1) กรอบภาพให้ดูสวย (1) กรอบรูปขอบกระจาย (1) กรอบรูปด้วย (1) กระจกกั้นอาบน้ำ (1) กระจกอลูมิเนียม (1) กระดาษปลิว (1) กระดาษพับขอบ (1) กระเบื้องยาง (1) กรุพระเครื่อง (1) กล้วยไข่หวาน (1) กล้องวงจรปิด (1) กล้องcctv (1) กลายเป็นภาพเขียน (1) ก๋วยเตี๋ยวเรือ (1) กันขโมย (1) กับ (1) การจัดอันดับเข้าใช่งาน (1) การเซฟภาพ (1) การตกแต่ง (1) การแต่งภาพ (10) การทำกรอบ (1) การทำตัวหนังสือ (1) การทำตัวอักษร 3D (1) การทำภาพ (2) การทำภาพเอนิเมชั่นในPhotoshop cs3 (1) การทำรูปภาพ (1) การทำแว่นขยาย (1) การสร้างกรอบ (2) การสร้างดาวใสแบของเรา (1) การสร้างลูกบอลไฟอีกรูปแบบหนึ่ง (1) การสร้างโลโก้ (1) การ merge รูป (1) กาฬสินธุ์ (1) กำแพงเพชร (1) เกม (1) เกมที่มีผู้เล่นนับพันๆคน (1) เกาะล้าน (2) เกาะล้านสวยมากๆ (1) ข้อความโค้ง (1) ข้อความเป็นรูป (1) ข้อความเป็นรูปเรา (1) ขอนแก่น (1) ข้อมูลทั่วไป (27) ขี่ม้า เอกมัยรามอินทรา (1) คนทะลึ่งถาม (1) คนลามกตอบ (1) ความหมาย (1) ความหมาย colo (1) คำค้นยอดนิยม (1) คำถามฮ่าๆ (1) คำว่า Co-Location (1) เครื่องสำอาง (1) โค้งตามวัตถุ (1) โค๊ตวิทยุ (1) โค้ตสถานีวิทยุ (1) โค้ตHTML (1) โคลนนิ่ง (1) โคลนนิ่งอย่างงาย (1) จังหวัดกาฬสินธุ์ (1) จังหวัดขอนแก่น (1) จังหวัดชัยภูมิ (1) จังหวัดเชียงราย (1) จังหวัดตาก (1) จังหวัดนครพนม (1) จังหวัดนครราชสีมา (1) จังหวัดนครสวรรค์ (1) จังหวัดน่าน (1) จังหวัดบุรีรัมย์ (1) จังหวัดพะเยา (1) จังหวัดพิจิตร (1) จังหวัดพิษณุโลก (1) จังหวัดเพชรบูรณ์ (1) จังหวัดแพร่ (1) จังหวัดมหาสารคาม (1) จังหวัดมุกดาหาร (1) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (1) จังหวัดร้อยเอ็ด (1) จังหวัดลำปาง (1) จังหวัดลำพูน (1) จังหวัดเลย (1) จังหวัดสุโขทัย (1) จังหวัดหนองคาย (1) จังหวัดหนองบัวลำภู (1) จังหวัดอำนาจเจริญ (1) จังหวัดอุตรดิตถ์ (1) จัดอับดับเว็บ (1) จันทร์เต็มดวง (1) ฉากกั้นอาบน้ำ (1) ชมรมอัครเบญจพล (1) ชัยภูมิ (1) ชาวเวอร์ (1) ชิงร้อยชิงล้าน (13) ชิงร้อยชิงล้านตอนใหม่ (13) ชิงร้อยชิงล้านย้อนหลัง (13) เชียงดาว (1) เชียงราย (1) เชียงใหม่ (1) ใช้งาน Colo ยังไง (1) ใช้งาน Gradint Tool (1) ด้วยตัวเอง (1) ด้วย Filter (1) ด้วย tool ง่ายๆ (1) ดอยเชียงดาว (1) ดอยหลวง (1) ดูสวยงามและมีมิติ (1) ต้องการ ให้เด่น (1) ตัวหนังสือสีทอง (1) ตาก (1) ติดตั้งกล้องวงจรปิด (1) แต่งข้อความ (1) แต่งรูปคนธรรมดาให้ร้องไห้ได้ (1) แต่งหน้าให้ดู over (1) ทราเวียน (1) ท่องเทียว (27) ทะลึ่งนิดๆ (1) ทำฟองอากาศ (1) ทำฟอนต์ให้เป็นลาย (1) ทำริมฝีปากให้สวยงามด้วยLip Gloss (1) ทำเว็บไซต์ (2) เทคนิค (19) เทคนิคการเน้นภาพ (1) เทคนิคทำเว็บ (30) เทคนิคทำเว็บไซต์ (1) เทียวทะเล (1) เทียวทั่วไทย (1) นครพนม (1) นครราชสีมา (1) นครสวรรค์ (1) น่าน (1) น้ำหอม (1) บริษัท (1) บริษัทจำกัด (1) บริษัทรับทำเว็บ (1) บานเฟี๊ยม (1) บุรีรัมย์ (1) เบราเซอร์เกม (1) แบบไล่โทนสี (1) ปกหนังสือ (1) ปรับแต่งรูป (1) ปรับแต่งรูปภาพผ่าน (1) เปลียน Favicon Blogger (1) แปลงภาพ (1) โปรเตอร์เก๋ๆ (1) โปรโมชั่นพิเศษ (1) ไปเทียว (1) ผ้าม่าน (1) ผ้าม่านมู่ลี่ (1) พระธาตุเด่น (1) พระธาตุพนม (1) พระราชบัญญัติ (1) พระอาทิตย์ (1) พะเยา (1) พับมุมปก (1) พิจิตร (1) พิษณุโลก (1) เพชรบูรณ์ (1) เพื่อเพิ่มมิติ (1) แพร่ (1) โพลารอยด์ (1) ภาพเงาสะท้อน (1) ภาพ จิ๊กซอร์ (1) ภาพถ่ายให้เป็นภาพวาด (1) ภาพแปลก (1) ภาพวาด (1) ภาพสไตล์โลโม (1) ภาพให้มีแสง (1) มหาสารคาม (1) ม่านปรับแสง (1) มุกดาหาร (1) เมืองคนแกร่ง (1) แม่ฮ่องสอน (1) รวยจริง (1) รวยแน่ (1) รวยเร็ว (1) ร้อยเอ็ด (1) ระหว่าง (1) รายเดือน (1) รูปภาพใส่กรอบ (1) รูปลายไม้ (1) ล้อโปสเตอร์ (1) ลำปาง (1) ลำพูน (1) เลย (1) และเงา (1) ไล่สี (1) วิทยุ (1) วิธีการเปลี่ยน Favicon (1) วิธีการใส่ซับ (1) วิธีสร้างกรอบรูป (1) เว็บคนเข้าเยอะ (1) เว็บไซต์ (1) เว็บไซต์สำเร็จรูป (2) เว็บสำเร็จรูป (1) เว็บbit เปิดใหม่ (1) แว่นขยาย (1) ศิลาแลงใหญ่ (1) ศูนย์ปฏิบัติธรรม (1) สมาธิ (1) สร้างกรอบ (3) สร้างกรอบรูป (1) สร้างข้อความ (3) สร้างข้อความโดนลมพัด (1) สร้างข้อความเนยแข็ง (1) สร้างข้อความแนวๆอย่างง่าย (1) สร้างข้อความในแบบของการ์ตูน (1) สร้างข้อความเป็นรูปเรา (1) สร้างข้อความพลาสติก (1) สร้างข้อความเหมือนควันบุหรี่ (1) สร้างข้อความ blink blink (1) สร้างตัวหนังสือแตกๆ (1) สร้างปกหนังสือด้วย (1) สร้างปุ่มซองจดหมายแบบง่ายๆด้วย (1) สร้างปุ่มสวย (1) สร้างโปรเตอร์ (1) สร้างโปรเตอร์แบบเก๋ๆ (1) สร้างพื้นหลังกราฟฟิกอย่างง่าย (1) สร้างพื้นหลังแบบ Matrix แบบง่าย (1) สร้างภาพ (1) สร้างภาพธรรมดาให้ดูเนียนอชเหมือนอยู่ในฝัน (1) สร้างรูปสไตล์ Crystal (1) สร้างลูกตาสวยๆ (1) สร้างลูกบอล (1) สร้างโลโก้ (1) สร้างหนังสือ (1) สร้างหนังสือแบบ 3D (1) สร้างอิฐบล็อก (1) สร้าง Barcode แบบง่ายๆ (1) สร้าง effect (1) สอนวิธีการแชร์ไฟล์ (1) สะท้อนวัตถุ (1) สินค้าแบรน (1) สุโขทัย (1) เสียงไทย (1) เสื้อผ้า (1) แสงเปล่งประกาย (1) ใส่กรอบ (1) หนองคาย (1) หนองบัวลำภู (1) หนัง (1) หนังสือแบบ 3D (1) ห้องพัก (1) เหนือสุดแห่งสยาม (1) อพาร์ทเมนท์ (1) อักษร 3D (1) อันดับเว็บ (1) อำนาจเจริญ (1) อุตรดิตถ์ (1) ฮามั่กๆ (1) Agel (1) bit คืออะไร (1) bit เปิดรับสมัคร (1) bit หนังใหม่ (1) BitTorrent (2) Blogger ของคุณ (1) Brush Tool (1) c0000013 (1) colo (2) Co-lo คืออะไร (1) Colo จะเอามาใช้ยังไง (1) Colo หมายถึงอะไร (1) Co-Location (1) Download (1) driver (1) Exception (1) Favicon Blogger (1) G450 (1) Gradint Tool (1) Hi-Def (1) Layer Mask (1) lenovo (1) Message (1) Music Graffiti (1) Parameters (1) Photoshop (39) Picnik (1) Processing (1) Ratio คืออะไร (1) Sticky Tape แบบเก๋ๆ (1) ThaiPSD (1) Tracker คืออะไร (1) Website ทั่วโลก (1) windows (1) Windows 7 (1) Windows XP (1) window vista (1) xp (1)